- ประวัติความเป็นมา

                    วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอกจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองราชสมบัติมาเป็นระยะเวลา 50 ปี ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะขยายการศึกษาของรัฐออกไปยังพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านการศึกษาและความเจริญ ของสังคมเมือง จากเขตชั้นในสู่กรุงเทพมหานครชั้นนอก เพื่อบรรเทาความแออัดจากสภาพความเป็นอยู่และปัญหาการจราจรของสังคมเมืองชั้นในให้ลดน้อยลง จากแนวความคิดและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ กรมอาชีวศึกษาในขณะนั้นได้นำมาดำเนินการโครงการจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก โดยนำการจัดตั้งสถานศึกษา บรรจุไว้ในแผนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ ดำเนินโครงการจัดตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงครองราชสมบัติเป็น เวลา 50 ปี โดยมีจุดประสงค์ที่มุ่งหวังให้ความรู้แก่ประชาชนย่านชานเมืองในระดับอำเภอ มีการเรียนการสอนทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบสะสมหน่วยกิต และหลักสูตรระยะสั้นเป็นวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนผสมผสานกันระหว่างวิทยาลัยเทคนิคกับวิทยาลัยสารพัดช่างเข้าด้วยกัน
                  วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอกประกาศจัดตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงครองราชสมบัติมาเป็นเวลา 50 ปี จึงกราบบังคมทูลขอใช้ชื่อวิทยาลัยโดยมีคำว่า 'กาญจนาภิเษก' เป็นคำนำหน้าหนองจอก เนื่องจากวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอกเป็นสถานศึกษาซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งหวังให้ความรู้แก่ประชาชนย่านชานเมืองในระดับอำเภอจึงใช้ชื่อของอำเภอที่เป็นสถานที่ก่อสร้างมาเป็นชื่อวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก ดังนั้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงครองราชสมบัติเป็นเวลา 50 ปี วิทยาลัยจึงมีชื่อเต็ม ๆ ว่า “ วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก ”โดยมีปรัชญา ดังนี้ “สร้างคนดี มีฝีมือ ยึดถือคุณธรรม นำชาติไทยพัฒนา”และวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นจัดการศึกษาวิชาชีพ พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาทุกด้านเพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก มีการจัดการเรียนการสอนใช้หลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษา มี 5 รูปแบบดังนี้
1. ระบบปกติ  เปิดสอน 1  ระดับ ได้แก่
1.1 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เปิด 2 ประเภทวิชา ได้แก่
1.1.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม มี 6 สาขาวิชา ได้แก่
	- สาขาวิชาช่างยนต์
	- สาขาวิชาช่างกลโรงงาน
	- สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
	- สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
	- สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
        - สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์
	1.1.2 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม  มี  3 สาขาวิชา ได้แก่
	- สาขาวิชาการบัญชี
	- สาขาวิชาการตลาด
	- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
2. ระบบทวิภาคี เปิด 2 ระดับ ได้แก่
2.1 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เปิดสอน 2 ประเภทวิชา ได้แก่
2.1.1  ประเภทวิชาอุตสาหกรรม  มี 5 สาขาวิชา
	- สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล
	- สาขาวิชาเทคนิคการผลิต
        - สาขาวิชาไฟฟ้า
        - สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
        - สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์
2.1.2 ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ  มี  3  สาขาวิชา 1 สาขางาน ได้แก่
	- สาขาวิชาการบัญชี
	- สาขาวิชาการตลาด
	- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
	- สาขางานธุรกิจการบริการยานยนต์
2.2 หลักสูตรปริญญาตรี มี 2 สาขาวิชา  ได้แก่
        -  สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
        -  สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
3. กลุ่มเทียบโอนความรู้และประสบการณ์อาชีพสู่วุฒิการศึกษา เปิดสอน 2 ระดับ ได้แก่
3.1  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เปิดสอน 2 ประเภทวิชา  ได้แก่
3.1.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม  มี  4  สาขาวิชา  ได้แก่
	- สาขาวิชายานยนต์
	- สาขาวิชาช่างกลโรงงาน
	- สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
	- สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
3.1.2 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม  มี  2  สาขางาน  ได้แก่
	- สาขาวิชาการตลาด
	- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
3.2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เปิดสอน 2ประเภทวิชา ได้แก่
3.2.1ประเภทวิชาอุตสาหกรรม  มี  5  สาขางาน  ได้แก่
	- สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล
        - สาขาวิชาเทคนิคการผลิต
	- สาขาวิชาไฟฟ้า
	- สาขาวิชาอิเล็คทรอนิกส์
        - สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
3.2.2ประเภทวิชาพาณิชยกรรม  มี  3  สาขาวิชา  ได้แก่
        - สาขาวิชาการตลาด
        - สาขาวิชาการบัญชี
        - สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล

4. หลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) มี 3 รายวิชา  ได้แก่
        -  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
        -  สาขาวิชาช่างยนต์
        -  สาขาวิชาเครืื่องมือกล

ุ5. หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น มี 8 รายวิชา  ได้แก่  
        -  สาขาวิชาช่างยนต์
        -  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน
        -  สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
        -  สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
        -  สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
        -  สาขาวิชาการตลาด
        -  สาขาวิชาการบัญชี
        -  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ